อาศรมมาตา ตั้งขึ้นจากแรงบันดาลใจ และความสำนึกในพระคุณของพระพุทธเจ้า และครูบาอาจารย์ของอุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ มุ่งหวังจะให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของผู้หญิง ที่มีความมุ่งมั่นสู่เส้นทางแห่งความพ้นทุกข์ โดยใช้ความวิเวกของธรรมชาติ ป่าเขา ในการเจริญภาวนา และใช้สติปัฏฐาน ๔ เป็นแผนที่เดินทาง

เดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นไร่มันสำปะหลังที่แห้งแล้ง มีต้นไม้เพียง 13 ต้น ต่อมาอุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ หรือ แม่เล็กผู้ก่อตั้งอาศรมมาตา เข้ามาปรับปรุงพื้นที่และเริ่มปลูกต้นไม้ ทั้งยางนา ประดู่ ตะเคียนทอง ฯลฯ เติมความร่มรื่นและสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ผืนดิน พร้อมสร้างศาลาปฏิบัติธรรมและห้องพัก เพื่อเปิดเป็นสถานปฏิบัติธรรมสำหรับผู้หญิงเมื่อปี พ.ศ. 2539

  • ปี 2539: เริ่มก่อสร้างอาศรมมาตา ด้วยงบประมาณส่วนตัวของครอบครัวทิพยทัศน์เป็นระยะเวลา 8 ปี ที่ไม่รับเงินบริจาคใดๆ
  • ปี 2547: คณะญาติธรรมได้จัดตั้งกองทุนบุญนิธิอาศรมมาตาขึ้น จึงเริ่มรับเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาที่มีความประสงค์ จะช่วยสืบสานงานพระพุทธศาสนา
  • ปี 2552: ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิอาศรมมาตา และนับจากนั้นเป็นต้นมาก็บริหารงานโดยคณะกรรมการมูลนิธิฯ

"แม่อยากให้ผู้มาปฏิบัติน้อมนำธรรมะไปตั้งไว้ในจิตใจ หากมีผู้ปฏิบัติแม้เพียงคนเดียวที่บรรลุธรรม อาจเป็นเพียงชั้นต้น เช่น โสดาบัน แม่ก็พอใจแล้ว ฉะนั้นใครที่ต้องการเป็นดอกบัวบาน จงมาที่นี่ มาร่วมกันทำให้สถานที่นี้เป็นที่สัปปายะ ให้เป็นบ่อเกิดแห่งการเบิกบานของทั้งศาสนาและจิตใจ"

​อุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์
ผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิอาศรมมาตา

ประวัติผู้ก่อตั้ง

อุบาสิกา ทิพวรรณ ทิพยทัศน์

  • กำเนิดในปี 2487 ณ ร้านทิพยเวช ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

การศึกษา

  • เภสัชศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และธรรมศึกษาเอก

งานที่เคยทำทางโลก

  • เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการบริหารบริษัทอาร์เอ็กซ์ จำกัด (ขายยา)
  • เป็นผู้อำนวยการบริหารบริษัทสกายแล็ป จำกัด (ขายเครื่องมือแพทย์ )
  • เปิดร้านขายอาหารมังสวิรัติ ชื่อ ' ร้านทาน ' ขึ้นบนถนนพิษณุโลก กรุงเทพ

งานอดิเรก

  • เล่นดนตร์ไทย แต่งเพลง แต่งกลอน และปลูกตันไม้

ผลงานที่ผ่านมา

  • ปี 2511 เป็นผู้นำเสนอให้มีการใช้คำนำหน้า เภสัชกร (สำหรับผู้ชาย) และ เภสัชกรหญิง ( สำหรับผู้หญิง) และเริ่มใช้เป็นคนแรก
  • ปี 2537 ได้รับรางวัล 'สตรีสากล' สาขาผู้ป้องกันผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดโดยพระ
  • ปี 2551 และ ปี 2561 ได้รับเลือกจากเพื่อนเภสัชศาสตร์ เป็น ' Hall of the Fame' (ผู้นำชื่อเสียงมาให้รุ่น )
  • ปี 2553 ได้รับเลือกเป็นสตรี่ไทยดีเด่นประจำจังหวัดนครราชสีมา

ผลงานปัจจุปัน

  • ประธานมูลนิธิอาศรมมาตา และจัดคอร์สอบรมการปฏิบัติธรรมทั้งปี
  • แต่งเพลง คีตะสายธรรม (สื่อธรรมะโดยเสียงเพลง) แจกเป็นธรรมทาน
  • เขียนหนังสือธรรมะ 6 เล่ม คือ เรื่องเล่าเมื่อเข้าวิเวก , ชีวิตเล็กๆฝากไว้ในแผ่นดิน เล่ม 1 เล่ม 2 เล่ม 3 , ปลีกวิเวกจำเป็นสำหรับการพันทุกข์
  • คีตะวรรณกรรมและเรียบเรียงเสียงเทศน์ของพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ เรื่อง อานาปานสติ พิมพ์แจกเป็นธรรมทานเผยแผ่ธรรมะทาง ไลน์ และ เฟสบุ๊ค
คณะกรรมการมูลนิธิ
  1. อุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ ประธาน
  2. นางณัชชา ทิพยทัศน์ รองประธาน
  3. แม่ชีถนอม จิตติมณี เหรัญญิก
  4. อุบาสิกาพิชามญชุ์ อารยะพิสุทธิกูร เลขานุการ
  5. นางสาวลัดดา ชูสุวรรณ กรรมการ
  6. นางสาวพุทธชาติ กาญจนวลีรัตน์ กรรมการ
  7. พญ.ผกา วราชิต กรรมการ
  8. ม.ล.วราภา อุกฤษณ์ กรรมการ
  9. นางประไพศรี พิสิษฐ์กุล กรรมการ
  10. นายเกษมสี สกุลชัยสิริวิช กรรมการ
  11. นางผุสดี นิ่มเจริญวรรณ กรรมการ

อัพเดทเมื่อ 10 พ.ย. 2565

สถานที่โดยรอบ

มูลนิธิอาศรมมาตา จัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 เขต ตามความเหมาะสมของผู้ปฏิบัติ ดังนี้

เขต 1 อาศรมมาตา

เนื้อที่ 26 ไร่ ทั้งกุฏิและศาลาส่วนมากมีไฟฟ้า

เขต 2 มาตาสิขาลัย

เนื้อที่ประมาณ 33 ไร่ เป็นเขตภาวนาของ ผู้ปฏิบัติที่มีความรู้พื้นฐานการปฏิบัติพอสมควรไม่ต้องการรู้ปริยัติมาก ต้องการสถานที่ปลีกบำเพ็ญภาวนาเป็นระยะนานพอสมควร เช่น 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป

เขต 3 อิงธรรม

เนื้อที่ 11 ไร่ เขตนี้ได้ขออนุญาตป่าไม้ สร้างกุฏิภาวนาและเป็นผู้รักษาป่าร่วมกับป่าไม้ บางขณะใช้เป็นเขตปฏิบัติธรรมของพระภิกษุและอุบาสก

เขต 4 ธรรมสาวิกา

เนื้อที่ประมาณ 39 ไร่ ล้อมรอบด้วยป่าไม้เบญจพรรณ เป็นเสมือนรั้วธรรมชาติของเขต 4 มีกุฏิกรรมฐานที่มีทางเดินจงกรมภายในกุฎิ เขตนี้มีการฝึกให้สาวิกาถือธุดงควัตร ปักกลดนอนในป่า, บิณฑบาตฉันวันละมื้อ ถือศีล 10

เขต 5 พุทธธรรม

เป็นเขตที่ติดอยู่กับรั้วเขต 2 ด้านตะวันตก มีเนื้อที่ 13 ไร่

เขต 1 อาศรมมาตา

น้ำใสสะอาด อากาศสดชื่น
ป่าไม้ร่มรื่น รู้ตื่นเบิกบาน
อาศรมมาตา คือธรรมสถาน
เอื้อเฟื้อเจือจาน เพื่อท่านสตรี
พักบำเพ็ญภาวนา รักษาจิตนี้
เพิ่มพูนความดี ตามวิถีพุทธธรรม

  • มีเนื้อที่ 26 ไร่
  • ทั้งกุฏิและศาลาส่วนมากมีไฟฟ้าใช้ เช่น กุฏิวิเวก, ศาลาปิตา, ศาลาสติ, ศาลาพุทธะ, ศาลาจาคะ, กุฏิสันโดษ มีไฟฟ้าและเครื่องทำน้ำอุ่น
  • กุฏิขันติ และ วิริยะ ไม่มีไฟฟ้าใช้ห้องน้ำภายนอก ซึ่งอยู่ใกล้ กับกุฏิทั้งสอง
  • อาคารทิพยทัศน์เป็นที่พักของแม่ชี ดร. ไพเราะ ทิพยทัศน์ ซึ่งเป็นผู้ให้ความรู้ในด้านปริยัติ และมีการจัดคอร์สของตนเอง โดยเน้นการสัมมนาเป็นหลัก
  • ครัวอภัยทาน เป็นที่รับประทานอาหารในขณะที่ยังไม่มีคอร์ส และเป็นที่รับแขกที่มาเยี่ยม
เขต 2 มาตาสิกขาลัย

มาตาสิกขาลัยให้แนวคิด
มาเพื่อศึกษาจิตใจเจ้าของ
หากเห็นโลภโกรธหลงเข้าครอบครอง
หน้าที่รู้แล้วต้องสละ ละออกไป

​ให้โอกาสอุบาสิกาอนาคาริก
ค้นวิธีพลิกจิตให้ผ่องใส
มีกรรมฐานธุดงค์ไว้ปลงใจ
รู้แจ้งในความประสงค์ ตรงนิพพาน

อย่าท้อถอยน้อยใจในเพศแม่
อรหันต์เถรีมีแน่แผ่ไพศาล
เพียรให้มากแต่ละอยากไปนิพพาน
วัฏสงสารก็สั้นลง ตรงนั้นเอง

  • เนื้อที่ประมาณ 33 ไร่ เป็นเขตภาวนาของ ผู้ปฏิบัติที่มีความรู้พื้นฐานการปฏิบัติพอสมควรไม่ต้องการรู้ปริยัติมาก ต้องการสถานที่ปลีกบำเพ็ญภาวนาเป็นระยะนานพอสมควร เช่น 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป
  • กุฏิ 2 ชั้น คือ วิสุทธิ์, วิโมกข์ และ โพชฌงค์,
  • กุฏิชั้นเดียว คือ วิชชา และ ไตรลักษณ์
  • ที่เขตนี้มีแม่ชีถนอม จิตติมณี และอุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์เป็นผู้ดูแล
  • ​ศาลาสิริวรุณ ตั้งอยู่หน้าสระปัญญา ชั้นบนเป็นที่ฟังธรรมและปฏิบัติ ชั้นล่างจัดเป็นที่ลงทะเบียน
  • ห้องสมุดพุทธปัญญา สำหรับเก็บหนังสือธรรมะ และสื่อธรรมะของวิทยากรประจำอาศรมมาตา
  • ทางเดินจงกรม “ร่มพฤกษา” 15 ทางด้านตรงข้ามของศาลาศาลาสิริวรุณ
  • สัมปชัญญะ อยู่ตรงข้ามกับศาลาสิริวรุณ เป็นห้องเก็บของทั่วไป เก็บเครื่องนอนที่ซักสะอาด สำหรับผู้เข้ากุฏิเบิกไปใช้เมื่อใช้เสร็จแล้วนำปลอกหมอนและผ้าห่มที่ใช้มาคืนที่ลงทะเบียน
  • ครัวเสบียงบุญ เริ่มเปิดใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นครัวใหญ่ ด้านนอกนั่งได้ 100 คน ส่วนห้องด้านใน เป็นห้องทานอาหารของวิทยากร, ธรรมบริกร, แม่ชีและพระภิกษุ
เขต 3 อิงธรรม

ธรรมชาติธรรมดาในป่าโปร่ง
ทิวทัศน์โล่งสุดสายตาจรดฟ้าใส
น้ำสะอาดอากาศดีมีน้ำใจ
เอื้อเฟื้อให้แก่พระโยคาวจร

สถานที่สัปปายะปฐมเหตุ
เหมาะเป็นที่สู้กิเลสตามคำสอน
มรรคธรรมนำหน้าฆ่านิวรณ์
หวังถอดถอนตัณหาอุปปาทาน

อิงธรรมะของพระพุทธเจ้า
ตามรอยเท้าอริยสงฆ์ทรงสืบสาน
สาธุชนโอบเอื้อช่วยเจือจาน
ธรรมสถานน่าชื่นชมอาศรม อิงธรรม

  • เป็นป่าที่เหลืออยู่บนเขาภูหลวง มีเนื้อที่ประมาณ 6,000 ไร่ ใช้สำหรับฝึกธุดงค์ผู้หญิง ให้รักป่า, จิตใจกลมกลืนกับธรรมชาติ บางขณะเป็นเขตปฏิบัติธรรมของพระภิกษุและอุบาสก เขตนี้ได้ขออนุญาตป่าไม้ สร้างกุฏิภาวนาและเป็นผู้ดูแลรักษาป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้
  • ​กุฏิที่มีห้องนอน, ห้องน้ำ และทางเดินจงกรมติดมุ้งลวด อยู่ 4 หลัง คือ ชรตา ภาวิตา, นิโรธ และ ตถตา
  • กุฏิเล็ก ๆ (เรียกว่ากุฏิ “กรงนก”) อยู่ 4 หลัง ชื่อกุฏิอริยสัจ, วิมุติ, อนัตตา และ สุญญตา
  • ผู้ดูแล คือ อุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์
เขต 4 ธรรมสาวิกา

เขตนี้ค่ะชื่อธรรมสาวิกา
สำหรับฝึกคนกล้าทวนกระแส
ไหนไหนต้องเน่าเข้าโลงแน่
มาพิสูจน์ของแท้กันสักที

​ก็ตายเสียก่อนตายที่หมายมั่น
ให้เห็นกันที่นี่และเดี๋ยวนี้
วัฏสงสารมี นิพพานต้องมี
เป็นสิ่งที่บรรลุได้ในใจคน

กาม กิน เกียรติ โกรธ กลัว ตัวหยาบหยาบ
ต้องกำราบให้มันม้วยด้วยฝึกฝน
สร้างตบะ พละห้า กล้า อดทน
ผู้หวังผลต้องเพียร แม้เจียนตาย

สติปัฏฐานทางเดียวเคี่ยวให้ข้น
จนเกิดผลวางว่างอุปาทานหาย
หมดความยึดมั่นถือมั่นทั้งใจกาย
หมดการเกิดการตายอีกต่อไป

ไม่เหลือความพอใจไม่พอใจในโลกนี้
ไม่มีความยินดีไม่ยินดีในโลกไหน
ไม่ต้องการเกิดระหว่างโลกใดใด
โลกภายใน ใจไร้ทุกข์ สุขนิรันดร์

  • เนื้อที่ประมาณ 39 ไร่ ล้อมรอบด้วยป่าไม้เบญพันธ์เป็นต้นไม้ใหญ่ สมบูรณ์ สวยงาม เป็นเสมือนรั้วของเขต 4 ปลูกไม้ป่านานาพันธ์ ผสมกับพืชสวน และไม้ผลนานาชนิด เช่น มะม่วง, กระท้อน, ขนุน, มะไฟ, ฝรั่งและอื่น ๆ
  • ศาลาไกวัลย์ ใช้สำหรับทำวัตร สวดมนต์ ของผู้ที่พักปฏิบัติในเขตนี้บางขณะที่มีผู้เข้าคอร์สมากจะใช้เป็นศาลาที่พักด้วย
  • ครัวทานบารมี ใช้สำหรับคอร์สธุดงค์และผู้ปฏิบัตินอกคอร์ส
  • กุฏิโดดเดี่ยว เป็นที่พักเล็ก ๆ
  • กุฏิมีทางเดินจงกรมในกุฏิ คือ กุฏิหิริ, โอตตัปปะ กุฏิอิทธิบาท
  • กุฏิเดี่ยว คือ เมตตา และ กรุณา
  • กุฏิศานติ เป็นที่พักของอุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ (คุณแม่เล็ก)
  • ผลาญหินสิ้นกิเลส เป็นลานหินกว้างใหญ่ ล้อมรอบด้วยป่าไม้เป็นที่สัปปายะ สำหรับปฏิบัติธรรม มีกระท่อมสำหรับกางกลด สำหรับคอร์สสาวิกาธุดงค์
  • ​​เขตนี้สำหรับคอร์สสาวิกาธุดงค์และผู้ปฏิบัตินอกคอร์ส
  • มีอุบาสิกาทิพวรรณ ทิพยทัศน์ และแม่ชีถนอม จิตติมณี เป็นผู้ดูแล
เขต 5 พุทธธรรม
  • เป็นเขตที่ติดอยู่กับรั้วเขต 2 ด้านตะวันตก มีเนื้อที่ 13 ไร่ ญาติธรรมร่วมกันจัดซื้อที่ดิน และส่วนใหญ่บริจาคให้มูลนิธิอาศรมมาตา
  • มีการปลูกกุฎิโดยเงินทุนส่วนตัว แต่เวลาไม่ได้มาพักสามารถให้ผู้มาเข้าคอร์สใช้เป็นที่พักได้
  • กุฏิที่สร้างเรียบร้อยและมีผู้พักแล้ว คือ กุฏิอุเบกขาและกุฏิพรหมจรรย์ ส่วนอีกหลายท่านก็กำลังจะสร้างกุฏิในที่ดินของตนเองต่อไป
  • ศาลาพุทธธรรม เป็นศาลาส่วนกลาง
  • แท็งน้ำพุทธธรรม (แท็งน้ำเขต 5) เป็นของส่วนกลางเป็นแท็งใหญ่มากบรรจุน้ำจากสระน้ำซับได้ถึง 2 แสนลิตร