ฝึก รู้ ออก วาง (พ.ค. 67)

เป็นโอกาสดีสำหรับท่านผู้สนใจต้องการศึกษาเรียนรู้ เส้นทางภาวนาและรูปแบบของการฝึก รู้ ออก วาง เป็นแนวทาง ให้พ้นไปจากความทุกข์ของสังขารหรือการปรุงแต่งทั้งหลายที่คอยครอบงำจิตใจมนุษย์ ให้วนเวียนและวุ่นวาย ซ้ำซากและจำเจ จนเกิดการเวียนว่ายตายเกิดเป็นวัฏสงสาร

คอร์สการฝึก รู้ ออก วาง ได้จัดขึ้นมา อย่างมีหลักการและวิธีการเพื่อใช้ปฏิบัติพัฒนาจิตวิญญาณ ให้มีประสบการณ์ ในการที่จะเรียนรู้ ออกจากสังขาร เพื่อไปสู่การเป็นอิสระ และหลุดพ้นจากการพันธนาการทั้งปวงของการปรุงแต่ง

จึงขอเชิญชวนท่านใช้โอกาสอันดีนี้ สมัครเข้ามาศึกษา เรียนรู้ เส้นทางภาวนา รู้ ออก วาง เพื่อพัฒนาจิตใจอย่างได้ผล ให้มีการพ้นไปจากวังวนนี้

ลงสู่อริยมรรค (พ.ค. 67)

ความทุกข์และภัยอันตรายทั้งปวงเป็นสิ่งที่เราทุกคนต่างก็หวาดกลัว ทางเดินเพื่อให้ถึงความไม่มีทุกข์และไร้ภัยอันตรายทั้งปวงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มีทางเดียวเท่านั้นคืออริยมรรคมีองค์ ๘ มาเรียนรู้และฝึกหัด เพื่อเข้าใกล้และหยั่ง “ลงสู่อริยมรรค” อันประเสริฐนี้ด้วยกัน

**เต็มแล้ว**อริยสัจ 4 ทำคนธรรมดาให้เป็นอริยะ (เม.ย. 67)

ผู้ศึกษาปฏิบัติตามหลักสามารถก้าวพ้นจากความเป็นปุถุชนที่หนาด้วยกิเลส สู่ภาวะแห่งอริยบุคคลที่ประเสริฐสุดด้วยคุณธรรมได้อย่างแท้จริง หลักความจริงที่ว่านี้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติตรัสเรียกว่า อริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คอร์สนี้จะทำให้คุณได้เข้าใจในอริยสัจ 4 อย่างแท้จริง เพื่อความก้าวล่วงแห่งทุกข์ทั้งปวง

ฝึกสติเท่าทันความคิด ใช้ชีวิตเท่าทันยุคสมัย (มี.ค. 67)

ชวนฝึกสังเกตความรู้สึก นึก คิด กับธรรมชาติของวิถีชีวิตรอบตัว ฝึกการสื่อสารด้วยสติปัญญา สนทนาอย่างเข้าใจ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ ฟื้นฟูสุขภาพใจ และ กายภายใต้ความเป็นอยู่อย่างง่ายในบรรยากาศที่ร่มรื่น

มารู้จักธาตุรู้ในตน (มี.ค. 67)

ชีวิตของคน ๆ หนึ่ง มีองค์ประกอบของธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ รวม 6 ธาตุด้วยกัน วิญญาณธาตุ หรืออีกนัย คือธาตุรู้ หรือตัวรู้ นี้มีอยู่แล้วในทุกคน ทำหน้าที่รู้อารมณ์เป็นหลัก เป็นสิ่งที่วิเศษ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก ชีวิตนี้จึงไม่มีโอกาสสัมผัสกับธาตุรู้ในตนอย่างน่าเสียดาย การได้เข้าคอร์ส “มารู้จักธาตุรู้ในตน” จะช่วยฝึกฝนจิต จากที่ไม่เข้าใจตัวเอง เริ่มเข้าใจภายในของตนเองได้มากขึ้น ว่าสิ่งที่วิเศษในชีวิตยังมีอยู่ในตัวเราไม่ใช่สิ่งภายนอก จึงขอเชิญชวนมาร่วมกันพิสูจน์ว่า สิ่งที่วิเศษในตนมีอยู่ในทุก ๆ คน

รู้…เพ่ง…เผลอ…ต่างกันอย่างไร (ก.พ. 67)

ธรรมชาติของคนทั่วไป ที่ยังไม่เคยปฏิบัติธรรม ส่วนใหญ่ก็มักจะเผลอลืมเนื้อลืมตัว ลืมกายลืมใจ หลงไปอยู่ในโลกแห่งความคิดความฝันทั้งวัน ส่วนผู้เริ่มปฏิบัติ ก็มักจะเพ่งจนเครียด เพ่งจนอึดอัด หนักแน่น ตึงเครียดไปทั้งกายทั้งใจ เพราะเหตุว่า กลัวจะเผลอ การปฏิบัติธรรม ต้องรู้แบบผ่อนคลาย ต้องรู้แบบสบายๆ ไม่ตึง ไม่เครียด ไม่หนัก ไม่อึดอัด รู้แบบธรรมชาติธรรมดมาเรียนรู้ร่วมกันว่า อาการรู้ เผลอ เพ่ง นั้นต่างกันอย่างไร

ตามรอยอริยสัจ (ก.พ. 67)

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ที่ตถาคตเป็นศาสดาเอกของโลก เพราะรู้แจ้งในอริยสัจ สี่ทั้ง 12 รอบ ดังนั้นการเดินตามรอยบาทของพระพุทธเจ้า คือการเดินตามรอยอริยสัจนั่นเอง

หัวใจตื่นรู้อยู่ใกล้พุทธะ เห็นธรรมะเห็นพระพุทธเจ้า (ม.ค. 67)

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อเราสร้างสติสัมปชัญญะจนเกิดการบรรลุธรรมก็เสมือนเราเห็นพระพุทธเจ้าด้วย ดังพุทธภาษิตที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต”

ฝึกรู้ตัวเพื่อให้เกิดตัวรู้ (ม.ค. 67)

การฝึกรู้ตัวให้เกิดตัวรู้ รู้ตัวแรกคือฝึกสติสัมปชัญญะเมื่อฝึกมากเข้าด้วยความเพียรที่ต่อเนื่องจะเกิดสมาธิและเป้าหมายสำคัญคือได้ปัญญา (นั่นคือเกิดตัวรู้หรือญาณ)

ยิ่งแสวงหาสุข…ทุกข์ยิ่งวิ่งเข้าหา (พ.ย. 66)

หลายครั้งที่เราดิ้นรนไขว่คว้าให้ได้มาซึ่งความสุข มันกลับยิ่งทำให้เราทุกข์มากขึ้นเข้าไปอีก และยิ่งทำให้เราโหยหาที่จะได้มาซึ่งความสุข คอร์สนี้ชวนคุณทำความรู้จักทั้งความทุกข์และความสุข เพื่อให้คุณอยู่บนโลกนี้ได้อย่างสงบสุขมากขึ้น

ปรมัตถภาวนา (พ.ย. 66)

เชิญชวนผู้สนใจร่วมเจริญภาวนา เพื่อสังเกตสภาพธรรมตามความเป็นจริงนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยการอ่านและการฟังเท่านั้น แต่เกิดจากการสังเกตและปฏิบัติเช่นกัน

มรณานุสติ (ต.ค. 66)

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การดำเนินชีวิตที่เป็นไปอย่างรีบเร่งนั้นทำให้คุณไหลไปตามกระแสที่เกิดขึ้น คอร์สนี้ชวนคุณมาลองใช้ชีวิตให้ช้าลงและเรียบง่ายขึ้น เพื่อทบทวนและสังเกตตนเองให้มากขึ้นเช่นกัน

วิปัสสนา สติปัฏฐาน 4 (ก.ค. 66)

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การดำเนินชีวิตที่เป็นไปอย่างรีบเร่งนั้นทำให้คุณไหลไปตามกระแสที่เกิดขึ้น คอร์สนี้ชวนคุณมาลองใช้ชีวิตให้ช้าลงและเรียบง่ายขึ้น เพื่อทบทวนและสังเกตตนเองให้มากขึ้นเช่นกัน

วิปัสสนาพาดับทุกข์ (มิ.ย. 66)

หลายคนอาจได้ยินคำว่าวิปัสสนามาบ้าง แต่ยังไม่เข้าใจว่าวิปัสสนาคืออะไร และมีวิธีการอย่างไรในรายละเอียด คอร์สนี้ชวนคุณมาทำความรู้จักกับวิปัสสนา เพื่อเกื้อกูลให้คุณเข้าถึงวิถีแห่งการดับทุกข์

เรียนรู้ทุกข์เพื่อดับทุกข์ (มิ.ย. 66)

ความทุกข์เป็นสิ่งที่เราพบเจออยู่ทุกวันไม่ว่าจะเป็นทุกข์ใหญ่ที่ชัดเจน และความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะผลักไสความทุกข์นั้น คอร์สนี้ชวนคุณมาทำความรู้จักและเรียนรู้ทุกข์ เพื่อให้พบเจอหนทางแห่งการดับทุกข์ในชีวิตประจำวัน

ฝึกรู้ ฝึกออก ฝึกฝืน ฝึกวาง (พ.ค. 66)

หลายครั้งที่เราปล่อยตัวและใจให้ไหลไปตามกระแสของอารมณ์ ความคิด และความรู้สึก จนทำให้เกิดความทุกข์โดยตรง หรืออยากให้มีความสุขอีกครั้ง คอร์สนี้ชวนคุณมาฝึกรู้เท่าทัน ฝืนความคุ้นชิน เพื่อที่จะวางสิ่งต่างๆที่ยึดถือลง

มรรคภาวนา (พ.ค. 66)

หลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับมรรคมาบ้างแล้ว แต่อาจยังไม่เข้าใจอย่างแน่ชัดว่าจะประยุกต์ใช้มรรคในการภาวนาได้อย่างไร คอร์สนี้ชวนคุณมาสังเกตรายละเอียดของมรรคที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เพื่อนำไปปรับใช้ภาวนาต่อไป

ปรมัตถภาวนา (เม.ย. 66)

เชิญชวนผู้สนใจร่วมเจริญภาวนา เพื่อสังเกตสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นโดยการอ่านและการฟังเท่านั้น แต่เกิดจากการสังเกตและปฏิบัติเช่นกัน

มารู้จักราตุรู้ในตนกัน (มี.ค. 66)

ในการเจริญสตินั้นมีธาตุรู้แสดงให้เห็นอยู่เสมอ แต่ธาตุรู้นั้นคืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร และสามารถเห็นได้อย่างไร คอร์สนี้ชวนคุณมาทำความรู้จักกับธาตุรู้ เพื่อเข้าใจสภาวธรรมตามธรรมชาติที่มีอยู่

ทุกข์ต่อหรือพอแค่นี้ (ก.พ. 66)

ความทุกข์เป็นสิ่งที่เราต้องพบเจออยู่เสมอ ไม่ว่าจะทุกข์ครั้งใหญ่ และทุกข์เล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน คอร์สนี้ชวนคุณมาทำความรู้จักกับความทุกข์ และทบทวนตนเองว่าคุณยังยินดีที่จะอยู่กับความทุกข์ต่อไป หรือ ยินดีที่จะหยุดและออกจากวังวนแห่งความทุกข์นี้

ถ้ารู้เป็น… ก็ไม่เป็นทุกข์ (ก.พ. 66)

บ่อยครั้งที่เราเผลอไผลไปจมอยู่กับความทุกข์ที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกายและทางใจ จนทำให้ไม่รู้ว่าควรจะดำเนินการต่อทางไหนดี คอร์สนี้ชวนคุณมาทำความรู้จักกับความทุกข์ เพื่อจะได้ไม่จมอยู่กับความทุกข์อีกต่อไป

ฝึกความกล้า ฆ่าความหลง ปลงสังขาร (ม.ค. 66)

ป่าเป็นอุปกรณ์ในการฝึกอย่างยอดเยี่ยม สติสัมปชัญญะเป็นมงกุฏแห่งกรรมฐาน มรณานุสตินั้นยิ่งใหญ่ในการฝึกฝน คอร์สนี้จึงชวนคุณมาฝึกมรณานุสติให้เกิดความชำนาญท่ามกลางธรรมชาติ